เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหินดินด่านเกวียน
นครราชสีมา เป็นเมืองโบราณในราชอาณาจักรไทยเมืองหนึ่ง เป็นเมืองใหญ่ สมัยก่อนมีฐานะเป็นเมืองเจ้าพระยามหานคร เทียบเท่า เมืองนครศรีธรรมราช ในภาคใต้
จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีชุมชนโบราณซึ่งเป็นร่องรอยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคหินใหม่ ต่อเนื่องมาถึงยุคโลหะ กระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา ครั้นถึงสมัยประวัติศาสตร์ ก็มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองเสมา ตั้งอยู่บริเวณอำเภอสูงเนินในปัจจุบัน เป็นเมืองใหญ่เชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของ รัฐศรีจนาศะต่อมามีการสร้างเมืองโคราฆปุระอยู่ใกล้กัน และในสมัยขอมพระนคร มี เมืองพิมายเป็นเมืองสำคัญในบริเวณนี้
ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเห็นว่าเป็นหัวเมืองใหญ่และมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านของอยุธยา ติดกับชายแดนลาว (ลาบูแบร์ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้เขียนรายงานว่า เมืองนครราชสีมา เป็นเมืองชายแดนของอยุธยา ติดพรมแดนลาว เข้าใจว่าเลยลำสะแทด (ลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูล)เหนือเมืองพิมายเป็นเขตแดนลาว เพราะมีบันทึกไว้ในนิราศหนองคาย สอดคล้องกับวัฒนธรรมและภาษาที่เปลี่ยนไปด้วย)จึงโปรดให้ย้ายเมืองเสมา มาสร้างเมืองใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน โดยมีนายช่างชาวฝรั่งเศส เป็นคนออกแบบ ขนาดกว้าง 1,000 เมตร ความยาว 1,700 เมตร มีกำแพงเมืองขนาดใหญ่ มีป้อมค่ายหอรบ และพระราชทานนามว่า เมืองนครราชสีมา
อย่างไรก็ตามมีผู้เสนอว่า นครราชสีมา นั้นเป็นคำไทยเป็นคำใหม่ แยกเป็นคำได้คือ นคร+ราช+สีมา แปลได้ตรงตัวว่า เมืองใหญ่(นคร)อันเป็นขอบขัณฑสีมาของราชอาณาจักร(ราช+สีมา) ส่วนคำว่าโคราช (สำเนียงถิ่น: โค-หราด , ไทยกลาง: โค-ราด) นั้น น่าจะเพี้ยนมาจาก 'ครราช (อ่านตามสำเนียงว่า คอน-หราด ซึ่งเป็นคำเรียกนครราชสีมา แบบย่อๆของชาวบ้าน) มากกว่าที่จะเพี้ยนมาจาก โคราฆปุระ
....ท้าวสุรนารี เป็นผู้ที่เสียสละเพื่อให้ประเทศชาติได้อยู่รอดปลอดภัย
ควรที่อนุชนรุ่นหลัง จะได้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน
บ้านเมืองทุกวันนี้เป็นสิ่งที่ต้องหวงแหน การหวงแหน คือ ต้องสามัคคี
รู้จักหน้าที่ ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ชาวนครราชสีมาได้แสดงพลังต้องการ
ความเรียบร้อย ความสงบ เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ชาติกลับปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง
แม้ว่าสถานการณ์รอบตัวเราและรอบโลก จะผันผวนและ ล่อแหลมมาก
แต่ถ้าทุกคนเข้มแข็ง สามัคคี กล้าหาญ และเอื้อเฟื้อต่อกันชาติก็จะมั่นคง...
ผัดหมี่โคราช
ประตูชุมพล
สถานที่ท่องเที่ยว
เขาแผงม้าหรือเขาภูหลวงซึ่งเป็นเขาสูงชันเป็นแนวยาว เมื่อมองจากที่ไกลๆคล้ายสันคอม้า จึงเรียกว่า เขาแผงม้าเขาลูกนี้เคยปกคลุมไปด้วยป่า มีพื้นที่กว้างขวางกว่าแสนไร่ เป็นผืนป่าเดียวกับป่าดงพญาไฟอยู่ประชิด อช.เขาใหญ่ และ อช.ทับลาน มีสัตว์ป่าอย่างวัวกระทิงจากผืนป่าดังกล่าวมาหากินอยู่เป็นประจำ ต่อมามีการบุกรุกป่าและสัมปทานไม้ของเอกชน เขาแผงม้า ที่เคยรกครึ้มไปด้วยป่าจึงกลายเป็นเขาหัวโล้นในที่สุด
หมู่บ้านปราสาทใต้มีที่พักแบบโฮมเสตย์บริการ สำหรับผู้ที่สนใจเรียนรู้วิธีชีวิตชุมชน
ที่ตั้งและการเดินทาง : หมู่ 7 บ้านปราสาทใต้ ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง ห่างจากตัวเมืองโคราชประมาณ 45 กม.
ชาวบ้านทุ่งสัมฤทธิ์ ได้ร่วมกันสร้างศาลสถิตดวงวิญญาณนางสาวบุญเหลือ และวีรชนชาวโคราชเอาไว้บริเวณทุ่งสัมฤทธิ์ เพื่อกราบไว้สักการะ ปัจจุบันได้มีการสร้างอาคารหลังใหม่ขยายให้โอ่โถงขึ้น
ที่ตั้งและการเดินทาง : หมู่ 1 บ้านสัมฤทธิ์ตะวันออก ตำบลสัมฤทธิ์ ห่างจากตัวเมืองโคราชประมาณ 46 กม.
ฟาร์มโชคชัย
มีพื้นที่กว้างขวางถึง 2,000 ไร่มีแม่พันธุ์โคนมถึง 5,000 ตัว นับเป็นฟาร์มโคนมที่ใหญ่ที่สุด และมีการจัดการที่ดีที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในฟาร์มมีทัศนียภาพสวยงาม เป็นทุ่งหญ้ากว้างไกล มีทิวเขาเป็นฉากหลัง อากาศเย็นสบายตลอดปี ภายในพื้นที่นับพันไร่นี้แบ่งเป็นฟาร์มต่างๆ เช่น ฟาร์มม้าแข่ง ฟาร์มสุนัข ฟาร์มนกสวยงาม ฟาร์มโคนมเป็นฟาร์มหลักที่มีขนาดใหญ่ ฟาร์มโชคชัยมีบริการสเต๊กเนื้อวัวรสเด็ด ภายใต้ยี่ห้อโชคชัยสเต๊กเฮ้าส์ที่รู้จักกันดี ตบท้ายที่ไอศกรีม "อืมม์ มิลค์"ซึ่งฟาร์มโชคชัยคิดค้นสูตรขึ้นเอง ส่วนใครที่ฝันอยากจะเป็นคาวบอยสักครั้งในชีวิต อย่าลืมแวะไปที่ร้านจำหน่ายของที่ระลึกของฟาร์ม ที่นี่มีเครื่องแต่งกายของคาวบอยอย่างครบครัน เช่นหมวกคาวบอย ผ้าพันคอ เข็มขัดให้นักท่องเที่ยวได้ซื้อหาไว้เป็นที่ระลึกวัดบ้านไร่หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เป็นพระเกจิชื่อดัง เป็นที่เคารพศรัทธาของคนทั้งประเทศ ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ จึงทำให้วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปด้วย หลวงพ่อคูณเป็นพระชาวบ้านที่เข้าถึงมวลชนทุกระดับชั้น ตั้งแต่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน นักการเมืองไปจนถึงชาวบ้าน ด้วยท่านมีเมตตามหานิยม มีวิธีการสั่งสอนที่ตรงไปตรงมาง่ายแก่การเข้าใจ ในแต่วันมีผู้ศรัทธาพากันมากราบนมัสการอย่างเนืองแน่น ที่ตั้งและการเดินทาง ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด
ที่มาhttp://www.nakhonkorat.com