การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในชุมชน

อัดเสียงเรื่องเทคโนโลยีใหม่ทางการศึกษา

วังวัฒนธรรม

">

ครู

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553



เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหินดินด่านเกวียน

นครราชสีมา เป็นเมืองโบราณในราชอาณาจักรไทยเมืองหนึ่ง เป็นเมืองใหญ่ สมัยก่อนมีฐานะเป็นเมืองเจ้าพระยามหานคร เทียบเท่า เมืองนครศรีธรรมราช ในภาคใต้

จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีชุมชนโบราณซึ่งเป็นร่องรอยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคหินใหม่ ต่อเนื่องมาถึงยุคโลหะ กระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา ครั้นถึงสมัยประวัติศาสตร์ ก็มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองเสมา ตั้งอยู่บริเวณอำเภอสูงเนินในปัจจุบัน เป็นเมืองใหญ่เชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของ รัฐศรีจนาศะต่อมามีการสร้างเมืองโคราฆปุระอยู่ใกล้กัน และในสมัยขอมพระนคร มี เมืองพิมายเป็นเมืองสำคัญในบริเวณนี้
ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเห็นว่าเป็นหัวเมืองใหญ่และมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านของอยุธยา ติดกับชายแดนลาว (ลาบูแบร์ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้เขียนรายงานว่า เมืองนครราชสีมา เป็นเมืองชายแดนของอยุธยา ติดพรมแดนลาว เข้าใจว่าเลยลำสะแทด (ลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูล)เหนือเมืองพิมายเป็นเขตแดนลาว เพราะมีบันทึกไว้ในนิราศหนองคาย สอดคล้องกับวัฒนธรรมและภาษาที่เปลี่ยนไปด้วย)จึงโปรดให้ย้ายเมืองเสมา มาสร้างเมืองใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน โดยมีนายช่างชาวฝรั่งเศส เป็นคนออกแบบ ขนาดกว้าง 1,000 เมตร ความยาว 1,700 เมตร มีกำแพงเมืองขนาดใหญ่ มีป้อมค่ายหอรบ และพระราชทานนามว่า เมืองนครราชสีมา
อย่างไรก็ตามมีผู้เสนอว่า นครราชสีมา นั้นเป็นคำไทยเป็นคำใหม่ แยกเป็นคำได้คือ นคร+ราช+สีมา แปลได้ตรงตัวว่า เมืองใหญ่(นคร)อันเป็นขอบขัณฑสีมาของราชอาณาจักร(ราช+สีมา) ส่วนคำว่าโคราช (สำเนียงถิ่น: โค-หราด , ไทยกลาง: โค-ราด) นั้น น่าจะเพี้ยนมาจาก 'ครราช (อ่านตามสำเนียงว่า คอน-หราด ซึ่งเป็นคำเรียกนครราชสีมา แบบย่อๆของชาวบ้าน) มากกว่าที่จะเพี้ยนมาจาก โคราฆปุระ

  ....ท้าวสุรนารี เป็นผู้ที่เสียสละเพื่อให้ประเทศชาติได้อยู่รอดปลอดภัย

     ควรที่อนุชนรุ่นหลัง จะได้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน
     บ้านเมืองทุกวันนี้เป็นสิ่งที่ต้องหวงแหน การหวงแหน คือ ต้องสามัคคี
     รู้จักหน้าที่ ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ชาวนครราชสีมาได้แสดงพลังต้องการ
     ความเรียบร้อย ความสงบ เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ชาติกลับปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง
     แม้ว่าสถานการณ์รอบตัวเราและรอบโลก จะผันผวนและ ล่อแหลมมาก
     แต่ถ้าทุกคนเข้มแข็ง สามัคคี กล้าหาญ และเอื้อเฟื้อต่อกันชาติก็จะมั่นคง...



 ผัดหมี่โคราช


                                                                        ประตูชุมพล

                                                                  
สถานที่ท่องเที่ยว





 เขาแผงม้าหรือเขาภูหลวงซึ่งเป็นเขาสูงชันเป็นแนวยาว เมื่อมองจากที่ไกลๆคล้ายสันคอม้า จึงเรียกว่า เขาแผงม้าเขาลูกนี้เคยปกคลุมไปด้วยป่า มีพื้นที่กว้างขวางกว่าแสนไร่ เป็นผืนป่าเดียวกับป่าดงพญาไฟอยู่ประชิด อช.เขาใหญ่ และ อช.ทับลาน มีสัตว์ป่าอย่างวัวกระทิงจากผืนป่าดังกล่าวมาหากินอยู่เป็นประจำ ต่อมามีการบุกรุกป่าและสัมปทานไม้ของเอกชน เขาแผงม้า ที่เคยรกครึ้มไปด้วยป่าจึงกลายเป็นเขาหัวโล้นในที่สุด




แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาทเป็นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคอีสานได้พบโครงกระดูกโบราณถึง 60 โครง พร้อมกับภาชนะดินเผาแบบต่างๆและเครื่องประดับทั้งที่ทำจากเปลือกหอยและสำริดจำนวนมาก กรมศิลปากรได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนจาก ททท.ภายใต้โครงการอีสานเขียวพัฒนาแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งขึ้นเป็นแห่งที่ 2 ของภาคอีสานหลังจากเปิดพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีมาก่อนหน้านี้


หมู่บ้านปราสาทใต้มีที่พักแบบโฮมเสตย์บริการ สำหรับผู้ที่สนใจเรียนรู้วิธีชีวิตชุมชน
ที่ตั้งและการเดินทาง : หมู่ 7 บ้านปราสาทใต้ ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง ห่างจากตัวเมืองโคราชประมาณ 45 กม.


ทุ่งสัมฤทธิ์เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์อีกแห่งของโคราช ที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ที่ย่าโมนำชาวโคราชสู้รบกับกองทัพเวียงจันทร์จนได้ชัยชนะ ลักษณะเป็นทุ่งโล่งอย่างที่เห็นทั่วไป
ชาวบ้านทุ่งสัมฤทธิ์ ได้ร่วมกันสร้างศาลสถิตดวงวิญญาณนางสาวบุญเหลือ และวีรชนชาวโคราชเอาไว้บริเวณทุ่งสัมฤทธิ์ เพื่อกราบไว้สักการะ ปัจจุบันได้มีการสร้างอาคารหลังใหม่ขยายให้โอ่โถงขึ้น
ที่ตั้งและการเดินทาง : หมู่ 1 บ้านสัมฤทธิ์ตะวันออก ตำบลสัมฤทธิ์ ห่างจากตัวเมืองโคราชประมาณ 46 กม.


ปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีรูปแบบศิลปกรรมขอมแบบบาปวนและนครวัดที่มีความงดงาม เชื่อว่าเป็นต้นแบบในการสร้างนครวัดในเขมรปราสาทหินแห่งนี้ตั้งอยู่กลางเมืองพิมายซึ่งเป็นเมืองโบราณที่สำคัญของภูมิภาค มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงกับเมืองสำคัญทางตอนเหนือของลาวและทางตอนใต้ของขอม เมื่อชมปราสาทหินพิมายแล้วควรแวะชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ซึ่งจัดเก็บโบราณวัตถุที่สำคัญจากปราสาทแห่งนี้ไว้ พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บริเวณใกล้กัน





สวนสัตว์โคราชพิเศษจากสวนสัตว์ทั่วไปคือ มีสัตว์ป่าแอฟริกาให้ผู้สนใจได้เข้าชมศึกษา นอกจากนี้ยังมีสัตว์ที่หาชมได้ยาก เช่น แรกขาว เสือชีต้า เสือดำ วัวไบซัน อูฐ กระทิง นกพันธุ์ไทยอีกกว่า 300 ชนิด บรรยากาศภายในสวนสัตว์ร่มรื่นพื้นที่กว้างขวางกว่า 500 ไร่ มีรถพ่วงบริการนั่งชมภายในสวนสัตว์หรือจะเช่าจักรยานขี่เที่ยวก็ได้ ภายในสวนสัตว์มีอาหารเครื่องดื่มและของที่ระลึกจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว  ที่ตั้งและการเดินทาง : ถนนเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 19 กม.


ฟาร์มโชคชัย
มีพื้นที่กว้างขวางถึง 2,000 ไร่มีแม่พันธุ์โคนมถึง 5,000 ตัว นับเป็นฟาร์มโคนมที่ใหญ่ที่สุด และมีการจัดการที่ดีที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในฟาร์มมีทัศนียภาพสวยงาม เป็นทุ่งหญ้ากว้างไกล มีทิวเขาเป็นฉากหลัง อากาศเย็นสบายตลอดปี ภายในพื้นที่นับพันไร่นี้แบ่งเป็นฟาร์มต่างๆ เช่น ฟาร์มม้าแข่ง ฟาร์มสุนัข ฟาร์มนกสวยงาม ฟาร์มโคนมเป็นฟาร์มหลักที่มีขนาดใหญ่  ฟาร์มโชคชัยมีบริการสเต๊กเนื้อวัวรสเด็ด ภายใต้ยี่ห้อโชคชัยสเต๊กเฮ้าส์ที่รู้จักกันดี ตบท้ายที่ไอศกรีม "อืมม์ มิลค์"ซึ่งฟาร์มโชคชัยคิดค้นสูตรขึ้นเอง ส่วนใครที่ฝันอยากจะเป็นคาวบอยสักครั้งในชีวิต อย่าลืมแวะไปที่ร้านจำหน่ายของที่ระลึกของฟาร์ม ที่นี่มีเครื่องแต่งกายของคาวบอยอย่างครบครัน เช่นหมวกคาวบอย ผ้าพันคอ เข็มขัดให้นักท่องเที่ยวได้ซื้อหาไว้เป็นที่ระลึก


เขาใหญ่มีทัศนียภาพที่สวยงาม ทั้งทุ่งหญ้า ป่าเขา น้ำตก โดยเฉพาะสัตว์ป่าที่พบเห็นได้ง่ายไม่ว่าจะเป็น เก้ง กวาง นกนานาชนิด ฝูงกระทิง รวมทั้งฝูงช้างที่ออกมาหากินริมถนน จากสภาพป่าที่สมบูรณ์ประกอบด้วยเทือกเขาสูง อากาศบนอุทยานเขาใหญ่จึงเย็นสบายตลอดปีแม้กระทั่งฤดูร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยฤดูร้อนประมาน 23 ํซ ช่วงฤดูหนาวราวเดือนต.ค.-ก.พ.อากาศจะหนาวจัดการเดินทางไปอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ไปได้สะดวกทั้งทางปากช่องและปราจีนบุรี ที่เที่ยวบางแห่งเช่น น้ำตกเหวนรก ผาเดียวดาย เขาเขียวไปทางปราจีนสะดวกกว่า สำหรับเส้นทางด้านปากช่อง (ถ.ธนะรัชต์) เป็นเสันทางแรกที่ตัดขึ้นสู่เขาใหญ่แม้จะไกลกว่าเส้นทางด้านปราจีนบุรีเล็กน้อย แต่ถนนดีกว่าและเป็นเส้นทางที่สวยงาม ถนนไต่ลัดเลาะไปตามไหล่เขาที่ค่อนข้างชัน ทัศนียภาพสองข้างทางร่มรื่นไปด้วยป่าเขียวครึ้มริมถนนธนะรัชต์ ก่อนถึงด่านตรวจเขาใหญ่ 1 เป็นที่ตั้งของที่พักหลากหลายบรรยากาศ ทั้งรีสอร์ต บ้านพัก บังกะโล ให้นักท่องเที่ยวเลือกได้ตามรสนิยม เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกสบาย


วัดบ้านไร่หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เป็นพระเกจิชื่อดัง เป็นที่เคารพศรัทธาของคนทั้งประเทศ ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ จึงทำให้วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปด้วย หลวงพ่อคูณเป็นพระชาวบ้านที่เข้าถึงมวลชนทุกระดับชั้น ตั้งแต่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน นักการเมืองไปจนถึงชาวบ้าน ด้วยท่านมีเมตตามหานิยม มีวิธีการสั่งสอนที่ตรงไปตรงมาง่ายแก่การเข้าใจ ในแต่วันมีผู้ศรัทธาพากันมากราบนมัสการอย่างเนืองแน่น ที่ตั้งและการเดินทาง ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด
ที่มาhttp://www.nakhonkorat.com

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

1. นวัตกรรมการศึกษา นวัตกรรม เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งแต่เดิมใช้คำว่า นวกรรม เป็นคำมาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation แปลว่า การทำสิ่งใหม่ๆ หรือสิ่งใหม่ที่ทำขึ้นมา คำว่า นวกรรม มาจากคำบาลีสันสฤต คือ นว หมายถึง ใหม่ และกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัตินวัตกรรม (Innovation) หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นนวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพ
"นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น
“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้นข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม1. เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยและช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
แนวคิดพื้นฐานที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาแนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาขึ้นหลายรูปแบบด้วยกัน แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญพอสรุปได้ 4 ประการคือ1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรม ได้แก่- โรงเรียนไม่แบ่งชั้น- บทเรียนสำเร็จรูป- การสอนเป็นคณะ- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน2. ความพร้อม (Readiness) ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรม ได้แก่- ชุดการเรียนการสอน- ศูนย์การเรียน3. เวลาที่ใช้ในการศึกษา นวัตกรรมที่สนองความคิดนี้ ได้แก่- ตารางเรียนแบบยืดหยุ่น- มหาวิทยาลัยเปิด- การเรียนทางไปรษณีย์4. การขยายตัวด้านวิชาการและอัตราการเพิ่มของประชากร ทำให้เกิดนวัตกรรมในด้านนี้ขึ้น ได้แก่- ดาวเทียมเพื่อการศึกษา- มหาวิทยาลัยเปิด- การศึกษาทางไกล- การเรียนผ่านอินเตอร์เน็ตความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรมคำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ
2. เทคโนโลยีการศึกษา
ในปัจจุบันการดำเนินกิจการงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพจะใช้เทคโนโลยีเข้าไปช่วยเป็นส่วนใหญ่ เทคโนโลยีจึงมีความเกี่ยวข้องกับระบบงานด้านต่าง ๆทุกแขนง ถ้านำไปใช้แก้ปัญหาในแขนงใด จะเรียกเทคโนโลยีในด้านนั้น เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ เทคโนโลยีทางการเกษตร เทคโนโลยีทางการอุตสาหกรรม เป็นต้น ในวงการศึกษาก็เช่นเดียวกัน มีปัญหาต่าง ๆ มากมายที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขจึงเกิดเทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้นนักการศึกษาและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่างๆได้ให้ความหมายของคำเทคโนโลยีการศึกษาไว้ดังนี้กู๊ด (Good 1973) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา คือ การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอนโดยเน้นที่วัตถุประส่งค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชา มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่างๆในลักษณะของสื่อประสม และการศึกษาด้วยตนเองวิจิตร ศรีสะอ้าน (2517) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆมาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา ทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอนตามนัยนี้เทคโนโลยีการศึกษาจึงครอบคลุมเรื่องต่างๆ 3 ด้าน คือ การนำเอาเครื่องมือใหม่ๆมาใช้ในการเรียนการสอน การผลิตวัสดุการสอนแนวใหม่ รวมถึงการใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ๆกาเยและบริกส์ (Gagne and Briggs 1974) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นพัฒนามาจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆโดยรวมถึง1. ความสนใจในเรื่องความแตกต่างๆระหว่างบุคคลในเรื่องของการเรียนรู้ เช่น บทเรียนแบบโปรแกรม และบทเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เป็นต้น2. ด้านพฤติกรรมศาสตร์และทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎีการเสริมแรงของบี.เอฟ สกินเนอร์ (B.F Skinner)3. เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น โสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยโคลี, แครดเลอร์, และ เอ็นเจล (Coley, Cradler, and Engel 1996) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาไว้ว่า ในความหมายกว้างๆแล้ว เทคโนโลยีการศึกษาจะเป็นคำซึ่งรวมถึงทรัพยากรใดๆก็ตามที่ใช้ในการให้การศึกษาแก่ผู้เรียน โดยอาจรวมถึงวิธีการ เครื่องมือ หรือกระบวนการ หากเป็นในเชิงปฏิบัติแล้ว คำนี้จะใช้ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งหมายถึงการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น ฟิล์มสทริป เครื่องฉาย สไลด์ เทปเสียง โทรทัศน์ และห้องปฏิบัติการทางภาษา เมื่อมีการนำเอาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ในช่วงปีพ.ศ. 2523 – 2532 (ทศวรรษ 1980) จึงเป็นยุคของการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้ และในปัจจุบันจะเป็นการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารควบคู่กับคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น
ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอนEdgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ 1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ "โสตทัศนศึกษา" นั่นเอง
2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียวจึงสรุปได้ว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ แนวคิด กระบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา - เอกสารประกอบการสอนวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา.สมพร สุขวิเศษ.
มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุทยา.2549
- นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่พัฒนาคุณภาพของเยาวชน.สุคนธ์ สินธพานนท์.2551
- http://www.school.obec.go.th/http;//wwwschool.obec.go.th/

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552


เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ความหมาย
เพื่อที่จะให้เข้าใจความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เราคงจะต้องทำความเข้าใจกับคำต่างที่ประกอบเป็นคำนี้ อันได้แก่ เทคโนโลยี สาร และสนเทศ
เทคโนโลยีมีความหมายถึง การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต่องานปฏิบัติทั้งหลาย เพื่อให้งานนั้นมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ สารสนเทศ อ่านว่า สาระ-สน-เทศสาร หรือ สาระ เป็นคำประกอบหน้าคำ แปลว่า สำคัญ สนเทศ หมายถึง คำสั่ง ข่าวสาร ใบบอก สารสนเทศ จึงหมายถึงข่าวสารที่สำคัญ เป็นระบบข่าวสารที่http://www.vcharkarn.com/vlearn/?catid=219กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายในองค์การต่างๆตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์การนั้นๆ สารสนเทศ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Information สำหรับคำว่า Information นั้น พจนานุกรมเว็บสเตอร์ ให้ความหมายไว้ว่า ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศ เป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติ จึงได้มีการประมวลความหมายของสารสนเทศไว้ใกล้เคียงกัน ดังนี้
สารสนเทศ หมายถึงข้อมูลทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพที่ประมวลจัดหมวดหมู่ เปรียบเทียบ
และวิเคราะห์แล้วสามารถนำมาใช้ได้ หรือนำมาประกอบการพิจารณาได้สะดวกกว่าและง่ายกว่า สารสนเทศ คือข้อมูลที่ได้รับการประมวลให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายต่อผู้รับ และมีทั้งคุณค่า อันแท้จริง หรือที่คาดการณ์ว่าจะมีสำหรับการดำเนินงานหรือการตัดสินใจในปัจจุบันและอนาคต สารสนเทศ หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบมาคำนวณทางสถิติ หรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำมาใช้งานได้ทันที หากพิจารณาจากความหมายของสารสนเทศที่กล่าวมาแล้วนี้ จะเห็นว่าสารสนเทศมี
คุณลักษณะที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1. เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว
2. เป็นรูปแบบที่มีประโยชน์ นำไปใช้งานได้
3. มีคุณค่าสำหรับใช้ในการดำเนินงานและการตัดสินใจ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ ประมวลผล และเผยแพร่สารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีคมนาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Information Technology หรือ IT
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับ
งานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศ
ช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาหมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายโทรคมนาคมที่ต่อเชื่อมกัน สำหรับส่งและรับข้อมูลและมัลติมีเดียเกี่ยวกับความรู้โดยผ่านกระบวนการประมวลหรือจัดทกให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและความสะดวก มาใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้คนไทยสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์สารสนเทศ
1. ประโยชน์สำหรับผู้เรียน ผู้เรียนจะได้รับประโยชน์ดังนี้
-ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้อย่างเต็มที่
- ผู้เรียนมีโอกาสตัดสินใจในการเลือกเรียนตามช่องทางที่เหมาะกับความสามารถของตนเอง
-ทำให้กระบวนการเรียนรู้ง่ายขึ้น
- ผู้เรียนมีอิสระในการเลือก
-ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในทุกเวลา ทุกสถานที่
- ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
-ลดเวลาในการเรียนรู้และผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มากกว่าเดิมในเวลาเท่ากัน
-ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก
-ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักเสาะหาแหล่งการเรียนรู้
-ฝึกให้ผู้เรียน คิดเป็นและสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
2 ) ประโยชน์สำหรับผู้สอน ผู้สอนจะได้ประโยชน์ดังนี้
-ทำให้ประสิทธิภาพของการสอนสูงขึ้น
-ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลาย
-ทำให้ผู้สอนมีเวลามากขึ้น จึงใช้เวลาที่เหลือในการเตรียมการสอนได้เต็มที่
- ทำให้กระบวนการสอนง่ายขึ้น
- ลดเวลาในการสอนน้อยลง
-สามารถเพิ่มเนื้อหาและจุดมุ่งหมายในการสอนมากขึ้น
- ผู้สอนไม่ต้องใช้เวลาสอนทั้งหมดอยู่ในชั้นเรียนเพราะบทบาทส่วนหนึ่งผู้เรียนทำเอง
- ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาความไม่ถนัดของตนเองได้
-ผู้สอนสามารถสอนผู้เรียนได้เนื้อหาที่กว้างและลึกซึ้งกว่าเดิม
-ง่ายในการประเมิน เพราะการใช้เทคโนโลยี มุ่งให้ผู้เรียนประเมินตนเองด้วย

3 ) ประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา ในแง่ของการจัดการศึกษาจะได้รับประโยชน์ดังนี้
- สามารถเปิดโอกาสของการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
- ทำให้ลดช่องว่างทางการศึกษาให้น้อยลง
-สามารถสร้างผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
-ทำให้การจัดการและการบริหารเป็นระบบมากขึ้น
-ทำให้ลดการใช้งบประมาณและสามารถใช้งบประมาณที่มีอยู่ให้คุ้มค่า
- สามารถแก้ปัญหาทางการศึกษาได้หลายประการ
ที่มา http://learners.in.th/blog/mooddang/256432
http://www.nmc.ac.th/database/file_science/unit1.doc

คำถาม
1. คุณคิดว่าสารสนเทศการศึกษาคืออะไร
2. สารสนเทศนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
3. สารสนเทศสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับวิชาใดได้บ้าง
4. สารสนเทศทำให้เกิดโทษหรือไม่อย่างไร


http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/tech.htm

http://it.benchama.ac.th/ebook3/page/index.htm

http://www.school.net.th/library/snet1/network/it/index.html

http://www.nectec.or.th/hrd/schoolnet.php

http://www.wijai48.com/pdf/information_for_education.pdf

http://tsl.tsu.ac.th/file.php/1/courseware/aa_2/lesson.htm

http://tsl.tsu.ac.th/file.php/1/courseware/aa_2/lesson02/index.htm/

http://www.vcharkarn.com/vlearn/?catid=219

http://www.csjoy.com/story/net/tne.htm

http://www.school.net.th/